วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงงาน เรื่อง ไพลหอมมหัศจรรย์

คณะผู้จัดทำ
นายฉัตรชัย มรกตพรรณ เลขที่ 1
นายธนากร เลิศแก้ว เลขที่ 5
นายวัชระพงษ์ พะโรงรัมย์ เลขที่ 10
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2



ที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูรตนัตตยา จันทนะสาโร

โรงเรียนภัทรบพิตร อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์





บทคัดย่อ

ในการทำโครงงาน ไพลหอมมหัศจรรย์ มีจุดมุ่งหมายในการใช้สมุนไพรไทยให้เกิดประโยชน์ ซึ่งไพล เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นและเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณ ทางการรักษาอาการ วิงเวียนศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และแมลงสัตว์กัดต่อย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำยาหม่องจากไพลซึ่งเป็นสมุนไพรที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นจึงเหมาะแก่การนำมาศึกษาและเราสามารถลดต้นทุนในการใช้จ่ายค่ายารักษาโรค และลดการใช้ยาที่เป็นสารเคมีได้
โครงงาน ไพลมหัศจรรย์ เป็นการทดลองเกี่ยวกับ การทำยาหม่องจากไพล ถ้าไพลมีสรรพคุณในการรักษาโรคได้ ดังนั้นยาหม่องที่ทำจากไพล จะมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการ วิงเวียนศีรษะปวดเมื่อยตามร่างกาย และแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ในการทดลองเราจะแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ขั้นตอน จะมีไพลเป็นตัวแปรต้น และปริมาณของ น้ำมันระกำ การพลู เมนทอล วาสลีน น้ำมันมะพร้าว พาราฟิน ไพลแห้งในปริมาณต่างๆ เป็นตัวแปรที่ต้องควบคุม โดยขั้นตอนที่ 1 จะมีวิธีการทำดังนี้ นำไพรสดมาล้างด้วยน้ำให้สะอาด และนำมาหันให้เป็นแว่นๆบางๆ และนำไปตากแดดให้แห้ง และนำมาเจียวกับน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา ที่ตั้งกับไฟให้ร้อน แล้วเคี่ยวจนไพลเหลือง กรอบ แล้วจะได้น้ำมันไพลที่เจียว แล้วจากนั้นนำส่วนผสมดังนี้ได้แก่ น้ำมันระกำ 20 cc น้ำมันยูคาลิปตัส 10 cc และกระบูน เมนทอล ที่บดละเอียดแล้วผสมให้เข้ากันกับน้ำไพลที่เจียวไว้ จากนั้นนำ พาราฟิน ตั้งไฟพอร้อนจนละลาย นำส่วนผสมทั้งหมดผสมลงไปในพาราฟิน แล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นก็นำใส่บรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้ ก็จะได้ยาหม่องที่ทำจากไพล ตอนที่ 2 ก็ทำเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 1 ทุกอย่าง แต่ใช้ไพลในปริมาณเพียง 50 กรัม และขั้นตอนที่ 3 ก็ทำเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 1 ทุกอย่างแต่ใช้ไพลในปริมาณ 150 กรัม
การทดลองตอนที่ 1 ได้ผลดีที่สุดซึ่ง จึงเหมาะกับการนำไปทำเป็นยาหม่องเพราะมีกลิ่นหอม และมีสรรพคุณในการใช้ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ตอนที่ 2 และตอนที่ 3 แต่ยาหม่องจะมีสรรพคุณใกล้เคียงกัน แต่ผู้ใช้นิยมยาหมองตอนที่ 1 มากกว่า เพราะตอนที่ 2 มีกลิ่นแรงเกินไป ตอนที่ 3 ไม่ค่อยมีกลิ่น ซึ่งเกิดจากในการใช้ปริมาณของไพรที่เป็นตัวกำหนด สามารถสรุปได้คือ การใช้ไพลต้องใช้ในปริมาณพอเหมาะจึงจะได้ผลตามที่คาดหวังและมีประสิทธิภาพในการใช้งาน
เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในหลายๆด้าน เช่นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสมุนไพรไทยได้อีกมาก ประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพทำให้มีอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถนำสมุนไพรท้องถิ่นที่หาง่ายมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า ช่วยประหยัดทรัพยากรทางธรรมชาติ และจัดสรรทรัพยากรอย่างประหยัดค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี มาใช้ในการรักษาโรค และทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับสมุนไพรของไทยที่มีอยู่ในท้องถิ่น

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

เนื่องจากกลุ่มของข้าพเจ้าได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของสมุนไพรไทย ซึ่งพบว่าพื้นที่ในชุมชนของเรามีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ดีกว่าจะปล่อยทิ้งไว้ไม่เกิดประโยชน์ และสมุนไพรในพื้นที่มีในปริมาณมากเมื่อสำรวจจึงพบว่า ไพล ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณทางการรักษาโรคและอาการต่างๆได้มากชนิดหนึ่งและหาได้ง่าย ซึ่งมีอยู่แทบทุกหมู่บ้านและเป็นพืชที่ปลูกง่าย ดูแลรักษาง่าย ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้นำไพลมาศึกษาทำโครงงานถึงสรรพคุณของไพล ที่มีชื่อว่า ไพลหอมมหัศจรรย์

ขอบเขตของการทำการศึกษา

- ในการทำโครงงานครั้งนี้ใช้สมุนไพรคือ ไพล เพื่อที่จะใช้สรรพคุณของไพลมาทำยา ลดการใช้สารเคมี และจัดสรรทรัพยากรในพื้นที่ที่มีอยู่มากให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
- ศึกษาโดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่ตามหมู่บ้านโพธิ์ไทร และพื้นที่ข้างเคียง

สมมุติฐานของการศึกษา

ถ้าไพลมีสรรพคุณที่ใช้รักษาโรคได้ ดังนั้น ยาหม่องที่ทำจากไพลจะมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ แก้ปวดเมื่อย และแมลง สัตว์ กัดต่อย

ตัวแปร

ตัวแปรต้น
- ไพล
ตัวแปรตาม
- มีสรรพคุณในการรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ แก้ปวดเมื่อย และแมลง สัตว์ กัดต่อย

ตัวแปรควบคุม
- น้ำมันระกำ 20 cc
- กระบูน 10 g
- เมนทอล 15 g
- วาสลีน 100 g
- น้ำมันมะพร้าว 200-300 cc
- พาราฟิน 15 g
- น้ำมันยูคาลิปตัส 10 cc
- ไพลแห้ง 50 g
- ไพลแห้ง 100 g
- ไพแห้ง 150 g

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
1. วัสดุ
-ไพลสด 100 g
- น้ำมันระกำ 20 cc
- กระบูน 10 g
- เมนทอล 15 g
- วาสลีน 100 g
- น้ำมันมะพร้าว 200-300 cc
- พาราฟิน 15 g
- น้ำมันยูคาลิปตัส 10 cc





2. อุปกรณ์
- กระทะ
- มีด
- ตะหลิว
- เตาแก๊ส
- กระบอกตวงสาร
- ตาชั่ง
- ขวดบรรจุภัณฑ์
- หม้อ
- ช้อน



3.วิธีการทดลอง


ตอนที่ 1
1. ขั้นตอนการเดรียมวัสดุ
- นำไพลสดมาล้างทำความสะอาดให้สะอาดผึ่งให้สะเด็ดน้ำแล้วนำมาหั่นเป็นแว่น บางๆ แล้วนำไปตากแดดจนแห้กรอบ
- นำน้ำมันมะพร้าว 300 cc ตั้งไฟให้ร้อนแล้วนำไพล 100 g ลงไปเจียวจนจนไพรเหลืองกรอบ แล้วนำกากไพลออกเอาแต่น้ำมันที่เจียวได้มา 30 cc
- บด กระบูน และเมนทอลให้ละเอียด













2. ขั้นตอนการผสมยา
- นำน้ำมันที่เจียวได้ 30 cc น้ำมันระกำ 20 cc น้ำมันยูคาลิปตัส 10 cc มาผสมแล้วคน
ให้เข้ากันตั้งพักไว้












- นำกระบูน 10 g และเมนทอล 15 g ที่เตรียมไว้ผสมให้เข้ากัน





-นำพาราฟิน 15 g ตั้งไฟให้ละลายแล้วนำส่วนผสมที่เตรียมไว้ทั้งหมดใส่ลงไปแล้วคนให้เข้ากัน











- เตรียมบรรจุภัณฑ์ แล้วนำส่วนผสมที่เสร็จเรียบร้อยบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ขณะที่ส่วนผสมยังร้อนอยู่







ตอนที่ 2
- ทำเช่นเดียวกับ ตอนที่ 1 แต่ลดจำนวนไพลเหลือเพียง 50 g


ตอนที่ 3
- ทำเช่นเดียวกับ ตอนที่ 1 แต่ลดจำนวนไพลเหลือเพียง 150 g



3. บันทึกผล